Categories
Blog

แนวคิดการวางแผนการเงินเมื่อมีลูก

Post ขอหยิบเรื่องราวส่วนตัวมาเล่าหน่อย เกี่ยวกับแนวคิด แนวทางการวางแผนการเงินของตัวเองในส่วนของลูกชาย (เซน) ซึ่งอาจจะไม่ใช่ Best Practice แต่ก็คิดว่าน่าจะให้มุมคิดอะไรได้บ้าง ไม่มากก็น้อย กับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ หรือ ไม่ก็ว่าที่คุณพ่อคุณแม่ล่ะกันครับ 🙂


เริ่มจากการเตรียมความพร้อมหลังแต่งงาน หลังจากที่ผมและภรรยา แต่งงานกันเรามีเงินตั้งต้นที่ตกลงที่จะใช้ร่วมกันอยู่ส่วนนึงสำหรับที่จะใช้จ่ายกับเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเราทั้งคู่และระหว่างทางก็มีเติมเข้าไปบ้างตามโอกาส

เมื่อเรามีความตั้งใจว่าจะมีลูก จึงแบ่งเงินส่วนนึงจากก้อนนี้มากันเอาไว้สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจุดนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นแรก ในแผนการเงินส่วนนี้


1.กันเงินสำรอง

ผมกันเงินสำรองเอาไว้สำหรับเรื่องนี้โดยเฉพาะโดยเงินส่วนนี้ประเมินจาก ค่าใช้จ่าย ตั้งแต่ การตรวจสุขภาพเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนมีบุตรค่าฝากครรภ์ ค่า package คลอด และมี buffer เผื่อไว้อีกซักหน่อยเพื่อกรณีต่าง ๆสุดท้าย มีเหลืออยู่ประมาณนึง พอซื้อ package วัคซีนให้กับเซน


2.ซื้อประกันสุขภาพ

หลังจากที่เซนเกิด สิ่งที่ทำต่อมาคือ เตรียมซื้อประกันสุขภาพให้กับเซนซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเริ่มรับประกันตั้งแต่อายุ 1 เดือนขึ้นไป ซึ่งส่วนตัวเลือกแบบที่มีความคุ้มครองค่าห้องสูงหน่อยความคุ้มครองโดยรวมอาจจะไม่ได้สูงมากแต่ค่าเบี้ยอยู่ในเกณฑ์ที่พอรับได้ โดยของเซน ผมไปซื้อตอน 1 เดือน 1 สัปดาห์ ส่วนนี้เป็น Part ที่ Recommend ให้รีบทำเหมือนกันเพราะจากที่เคยฟังคุณพ่อคุณแม่ ผู้มีประสบการณ์มา ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ค่อนข้างสูงอยู่การมีประกันจะช่วยแบ่งเบาเราได้ส่วนนึงเลย


3.ประเมินความเสี่ยงของตัวเอง

กลับมารีวิวประเมินความเสี่ยงของตัวเองใหม่คือ กลับมาดูว่า ตอนนี้ เรามีสินทรัพย์ หนี้สินเท่าไหร่ความคุ้มครองปัจจุบันมีอยู่เท่าไหร่ (ประกันชีวิต) คิดถึงกรณีที่เราไม่อยู่แล้ว ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ที่เหมาะสมที่ควรให้ไว้แล้วมาสรุปดูว่า มันขาดเหลืออยู่เท่าไหร่ซึ่งก็คือ ความคุ้มครองส่วนที่เราควรมีเพิ่มเติม

แล้วกรมธรรม์ประเภทไหน ที่ควรมาเติมส่วนนี้ดี

ถ้าให้ Recommend ก็จะมีอยู่ 2 แบบ คือแบบชั่วระยะเวลา (Term) กับ Unit Link (เลือกที่เน้นความคุ้มครองไม่เน้นลงทุน) ซึ่งทั้ง 2 แบบนี้ สามารถให้ความคุ้มครองที่สูงได้ ด้วยค่าเบี้ยที่ไม่สูงมากนัก

โดยแบบ Term จะมีระยะเวลาการคุ้มครองที่ชัดเจนว่าจะให้ความคุ้มครองสิ้นสุดเมื่อไหร่ซึ่งเหมาะกับคนที่มีแผนชัดเจน

ส่วนแบบ Unit Linked จะเป็นการแบ่งเงินส่วนนึงไปลงทุนและมีความยืดหยุ่นในการปรับเพิ่ม/ลดทุนประกันรวมถึงหยุดพักชำระเบี้ยชั่วคราว และถอนเงินบางส่วนได้

ซึ่งส่วนตัวแล้วเลือกแบบ Unit Linked เพราะเมื่อเทียบค่าเบี้ยกับทุนประกันแล้ว ตอบโจทย์มากกว่าและมีความยืดหยุ่นเหมาะกับเป้าหมายของตัวเอง


4.วางแผนค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษา

เมื่อป้องกันความเสี่ยงกันไปแล้ว ก็มาถึง Must item ที่คิดว่าพ่อแม่ส่วนใหญ่จะคิดถึงคือ ค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษาบุตร ส่วนนี้เป็นค่าใช้จ่ายที่ขึ้นกับความต้องการของพ่อแม่มีตั้งแต่หลักพันยันหลักแสนต่อปีเอาจริง ๆ ของเซนตอนนี้ยังไม่ชัดเจนเท่าไหร่นักแต่มีกรองไว้คร่าว ๆ ว่าเป็นแนวทางไหนและจากที่ประเมินดู คิดว่า ยังสามารถใช้กระแสเงินสดในแต่ละปี support ได้อยู่คงทำแผนในส่วนนี้ไว้เป็นปีต่อปีก่อน

แต่ถ้าใครที่ชัดเจนแล้ว ก็อยากจะให้วางแผนกันดีดีไม่กระทบกับแผนการเงินอื่น ๆ ของเราโดยเฉพาะแผนเกษียณ

ใครที่ไม่มีเวลาจัดการในส่วนนี้ ผมแนะนำ Avenger Planner ซึ่งเป็นทีมงานนักวางแผนการเงินที่ผมร่วมงานอยู่ด้วย พวกเรายินดีให้บริการครับ 🙂


5.ลงทุนเพื่อเป้าหมายอื่น ๆ

บางคนอยากจะลงทุนเก็บเงินเพื่อลูกในเป้าหมายอื่น ๆ เช่น เก็บเงินเพื่อส่งให้ลูกเรียนต่อต่างประเทศเก็บเงินก้อนเพื่อเป็นทุนตั้งต้นชีวิตเมื่อเรียนจบ

ซึ่งหากว่าเรามีเป้าหมายลักษณะนี้อยู่ สิ่งนึงที่อยากแนะนำ คือ การตอบคำถามว่าเพื่ออะไร ควรมีเท่าไหร่ และจะใช้เมื่อไหร่แล้วมาดูกันว่าจะต้องเก็บเท่าไหร่ จัดพอร์ตแบบไหนยิ่งมีระยะเวลายาว ก็อาจจะลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงสูงได้(แต่ก็ควรที่จะคอยดูเป็นระยะ ๆ เช่นกัน)

อย่างของเซน ตอนนี้ก็มีพอร์ตลักษณะนี้อยู่เหมือนกันเป็นพอร์ตสำหรับเป้าหมาย Gap Year ให้ได้เดินทางไปต่างประเทศคนเดียว ก่อนเรียน ป.ตรีโดย Source of Funds ส่วนนี้ตั้งต้นมาจากเงินขวัญถุง เงินอังเปา ที่ได้มาจากญาติผู้ใหญ่แล้วก็เงินจากสวัสดิการประกันสังคม (คลอดบุตร 15,000 และสงเคราะห์บุตร เดือนละ 800)

สินทรัพย์ที่ลงทุนในพอร์ตนี้ตอนนี้คือ กองทุนหุ้นต่างประเทศ บวกกับ Crypto Asset อีกส่วนนึง(ถ้าขาดทุน คงต้องโปะคืน 55+ 🤣🤣) Run ยาว ๆ ไป 10 กว่าปี เป็นระยะเวลาที่น่าจะนานพอสำหรับการเติบโตของสินทรัพย์เหล่านี้


6.ตรวจสอบสภาพคล่องในทุก ๆ ปี

ทั้งหมดทั้งมวลนี้ เป็นสิ่งที่ได้ทำไปก่อนหน้านี้แต่สิ่งที่ยังคงต้องทำต่อไป คือ การตรวจสอบสภาพคล่องของตัวเองในทุก ๆ ปีว่ามีเป้าหมายไหนทั้งของตัวเอง และของเซนมีการเปลี่ยนแปลงไหม มี Change อะไรที่อาจเกิดขึ้นแล้วกระทบกับแผนอื่นที่วางไว้ก็ควร Monitor กันต่อไปเรื่อย ๆ เพื่อให้ปรับตามสถานการณ์ได้ทัน


สุดท้ายนี้ ผมเชื่อว่าพ่อแม่ทุกคนมีความตั้งใจที่อยากจะมอบสิ่งดี ๆ ให้แก่ลูก

สิ่งที่ ดีพอ ควรมาพร้อมกับความ พอดี

ที่ไม่ได้เบียดเบียนตัวเรามากเกินไปและยังคงให้ตัวเราได้ไปถึงเป้าหมายทางการเงินอื่น ๆ ของเราเช่นกัน

Facebook Comments