Categories
LBD Portfolio

LBD Portfolio End of S2

Disclaimer

บทความนี้เป็นมีไว้เพื่อศึกษาการลงทุนผ่านการปฎิบัติจริง
โดยใช้ความเห็นส่วนบุคคลในการนำเสนอ
ไม่ได้เป็นคำแนะนำที่เกี่ยวข้องกับองค์กรที่สังกัดแต่อย่างใด

รายละเอียดเป้าหมาย วัตถุประสงค์และนโยบายการลงทุน
สำหรับชุดบทความนี้สามารถอ่านได้ที่ S1 EP01

EP นี้ เป็น EP สุดท้ายของ ปีที่ 2 (Season 2) ซึ่งจะมาสรุปผลกันว่า 1 ปีที่ผ่าน ได้ผลตอบแทนเท่าไหร่บ้าง จากการทำ TAA เมื่อเทียบกับ Benchmark ที่ทำ SAA ตลอดทั้งปี


รีวิวผลการลงทุนที่ผ่านมา

มูลค่าพอร์ตสุดท้ายของปีอยู่ที่ 161,443.78 บาท (เงินตั้งต้น 140,000 บาท)

ผลตอบแทนของเดือน ธ.ค. อยู่ที่ 1.74%

ส่วนผลตอบแทนของ BM อยู่ที่ 3.86% แพ้ BM ไปอีก 1 ยก 😅

ปีนี้แพ้ BM ขาดกระจุยกระจายมาก 9 ยก ชนะ 3 ยก 😓

เทียบกราฟดูตั้งแต่ มี.ค. ไปก็เริ่มแพ้สะสมเลย


โดยปีนี้…

ได้ผลตอบแทนเฉลี่ยทบต้นต่อปีของพอร์ต อยู่ที่
8.35%

ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 10.17% อยู่ 1.82% 😓

ถือว่าปีนี้มีจุดที่พลาดไปหลายจุดอยู่พอสมควร


วิเคราะห์พอร์ตปีที่ผ่านมา

  1. ถ้าดูจากรูปช่วงครึ่งปีแรกก็มีแต่ Property Mixed เท่านั้นที่ไม่ได้เข้า ซึ่งมีโดด ตอนเดือน มี.ค. จึงเป็นจุดที่ทำให้ BM กระโดดไปในเดือนนั้น (แต่เดือนถัดมาก็ติดลบต่อ)
  2. พอไป Drill Down พบว่าสิ่งที่พลาดคือ Selection ที่ตัดสินใจสับกองเพราะ Underperform เพียงแค่เดือน 2 เดือน 😒แล้วเดือนถัดมามันก็พุ่งขึ้นไป << พลาดโอกาสไปเพราะใจร้อนขายไปก่อน
  3. การเจอสัญญาณ False Signal ของ Property Mixed ในเดือน ก.ค. ส.ค. ก.ย. ที่ทำให้เข้า ๆ ออก พอเข้าแล้ว Trend เปลี่ยนต้องขายออก พอขายออกก็มาเข้าไปอีก 🥴
  4. การเจอสัญญาณ False Signal ของ Thai ในเดือน พ.ย. ที่ทำให้ขายออก แต่เดือน ธ.ค. กลับขึ้นมาอีกรอบ 🥴

ปีนี้ถือว่าเป็นปีที่สินทรัพย์ต่าง ๆ ผันผวนพอสมควรโดยเฉพาะครึ่งปีหลัง ขึ้นลง ขึ้นลง สลับเดือนกันเลย และมีโอกาสเกิด False Signal ไป และด้วย Policy ที่ Set เป็นการออก Action ตาม Trend พอตามปุ๊บเกิดผิดทางขึ้นมาทำให้เสียหายไป ต่างจาก SAA (BM) ที่ลงตามสัดส่วนไปเรื่อย ๆ เฉลี่ย ๆ กันไป ก็เป็นบทเรียนทำให้เห็นว่า วิธีการนี้อาจจะไม่เหมาะนักกับสภาวะตลาดที่ผันผวนขึ้น ๆ ลง ๆ แบบนี้


ไม่รู้ว่าในปีหน้า (2022) จะยังผันผวนแบบนี้อีกไหม คงต้องมาดูกัน

ฝากติดตามกันนะครับ 🙂

Facebook Comments