Categories
Blog

พอร์ตกองทุนเราเสี่ยงแค่ไหน ? รับได้ไหม ?

หลังจากที่เขียน วิธีการซื้อกองทุนอย่างไร เพื่อลดความเสี่ยงไปเมื่อคราวก่อน วันนี้เลยอยากมาเขียนต่อว่าแล้วความเสี่ยงของพอร์ตเรา ณ ปัจจุบันนี้ มีความเสี่ยงขนาดไหน เราจะมีวิธีการประเมินอย่างไรได้บ้าง

ต้องขอบอกก่อนว่าวิธีการนี้ผมได้เรียนรู้มาจากการที่ไปเรียน Class DIY Portfolio และเป็นเนื้อหาส่วนนึงที่น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่ลงทุนในกองทุนรวม จึงขอนำมาแชร์หน่อยล่ะกัน


เรารับความเสี่ยงได้แค่ไหน ?

ก่อนที่จะทำการประเมิน อยากให้ลองถามตัวเองซัก 2 คำถามก่อน คำถามแรกคือ

พอร์ตกองทุนที่เรามีอยู่ สามารถติดลบแค่ไหน ?

-5% ยังชิวอยู่ไหม หรือว่า -10% ก็ยังเฉย ๆ แล้วจะรู้สึกไม่อยู่เฉยเมื่อติดลบเท่าไหร่ ให้เก็บเลขนี้ไว้ในใจ

อีกคำถามคือ

พอร์ตที่เราลงทุนอยู่ มีเป้าหมายที่อยากได้ผลตอบแทนอยู่ที่เท่าไหร่ ?

8% 10% ต่อปี ส่วนตัวคิดว่าพอเป็นไปได้สำหรับการลงทุนระยะยาว แต่บางคนอยากได้ซัก 20% ต่อปี อันนี้ส่วนตัวผมเห็นว่าการลงทุนในกองทุนรวมไม่น่าจะตอบโจทย์ได้ อาจจะต้องลงทุนในหุ้นโดยตรงแล้วเฟ้นหากันดี ๆ ซึ่งก็ยากอยู่เหมือนกัน ฉะนั้นคงต้องเจียมเนื้อเจียมตัวกันนิดนึงสำหรับคนที่ลงทุนในกองทุนรวม


ปัจจุบันของเรามีกองทุนอะไรบ้าง ?

ให้ทำการ Download Excel File ที่ด้านล่างบทความนี้มาก่อน จากนั้นเปิดไฟล์ ที่ Tab “Current Port” ให้ทำการใส่รายละเอียดของกองทุนที่มีอยู่ลงไป (ตัวอย่างดังรูป)

Update Feb 2021 : มีการ update file นิดหน่อยนะครับ เพื่อให้เหมาะสมกับปัจจุบันมากยิ่งขึ้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นสามารถนำไฟล์ไปทำความเข้าใจและปรับแต่งเองต่อได้ครับ

โดยการใส่ข้อมูลลงไปนั้นให้แบ่งตามประเภทของทรัพย์สิน ถ้าไม่รู้ว่ากองทุนนี้อยู่ในสินทรัพย์ประเภทไหน ให้ลองไปเปิด Fund Fact Sheet ของกองทุนนั้นดูก่อน หรือถ้าหาไม่เจอก็ Comment ที่ Post นี้ไว้ เดี๋ยวผมจะมาช่วยตอบให้ล่ะกันครับ 🙂

สำหรับกองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศ จะมี 2 ส่วนคือ EM (Emerging Market) กับ DM (Developed Market) ซึ่ง EM ก็ได้แก่ ประเทศในอาเซียนทั้งหลาย (จีน, เวียดนาม, อินเดีย ฯลฯ) ส่วน DM คือประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น อเมริกา, ญี่ปุ่น, ประเทศในกลุ่มยุโรปทั้งหลาย

เมื่อใส่ข้อมูลเสร็จ เราก็จะเห็นว่าพอร์ตกองทุนที่เราถืออยู่นั้นมีสัดส่วนสินทรัพย์แต่ละประเภทอยู่ที่เท่าไหร่ ตรงนี้น่าจะทำให้เราเห็นคร่าว ๆ แล้วว่า พอร์ตเรามีความเสี่ยงประมาณไหน (มี Stock เยอะก็ออกจะเสี่ยงสูงหน่อย)


รับได้ไหมกับความเสี่ยงขนาดนี้

จากนั้นให้ทำการคลิกที่ Tab “Evaluation” โดยหน้านี้จะเป็นการประเมินประเภททรัพย์สินแต่ละประเภทก่อนว่ามีผลตอบแทนเฉลี่ยอยู่ที่เท่าไหร่และผลขาดทุนที่สามารถเป็นไปได้ต่อปีอยู่ที่เท่าไหร่ (ตัวเลข Good Return กับ Bad Return นี้เป็นตัวเลขประมาณการณ์คร่าว ๆ จากการเข้าไปดูผลตอบแทนย้อนหลังในทรัพย์สินแต่ละประเภท ซึ่งแต่ละคนสามารถปรับตัวเลขได้ หากคิดเห็นไม่ตรงตามนี้)

ที่ Column Current เราก็จะเห็นว่าพอร์ต ณ ปัจจุบันของเรานั้น มีโอกาสที่จะขาดทุนที่เท่าไหร่ (ซึ่งตัวเลขนี้เรารับได้ไหม ?) และผลตอบแทนอยู่ที่ประมาณเท่าไหร่


รับไม่ได้ก็ต้องปรับ

หากเราเห็นว่าเราไม่โอเคกับตัวเลขนี้ ก็ให้ลองปรับสัดส่วนดู (ช่อง % ใน Column Target) แล้วดู Expected Return (2 Column ล่าง) ว่าอยู่ในกรอบที่เราโอเคไหม

เมื่อปรับได้แล้วที่ Column Difference จะเป็นตัวบอกว่า สินทรัพย์แต่ละประเภทนั้นควรจะต้องเติมหรือขายออกเท่าไหร่ (Rebalancing) เพื่อให้พอร์ตกองทุนของเราเป็นไปตามกรอบที่เราต้องการนั่นเอง

สงสัยตรงไหน Comment ไว้ด้านล่างได้เลยนะครับ หรือ add Line มาก็ได้ครับ 🙂

Facebook Comments

เอกสารที่เกี่ยวข้อง