ตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ได้รับแรงกระตุ้นอีกรอบ หลังจากที่ไปเข้าร่วมสัมมนา DIY Portfolio ครั้งที่ 7 จึงมีความตั้งใจว่าจะ Setup พอร์ตลงทุนขึ้นมาพอร์ตนึง เพื่อที่จะทำการศึกษา Tactical Asset Allocation (TAA) ผ่านการลงมือทำจริง ๆ (Learning By Doing)
คิดว่าจะทำ คิดว่าจะทำ อยู่หลายเดือน มาลงตัวทีเดือนนี้ และก็ถือว่าเริ่มกันเดือนแรกของปีเลยล่ะกัน
ขอใช้ชื่อซีรี่ย์นี้ว่า LBD Portfolio (Learning By Doing Portfolio) โดยเป็นการเขียนบันทึกการลงทุนเพื่อเป้าหมายดาวน์รถยนต์ในอีก 5 ปีข้างหน้า มูลค่าเป้าหมายอยู่ที่ 400,000 บาท
ก่อนการลงทุน
ในสัมมนา DIY Portfolio ได้มีการพูดถึง Activity นึงก่อนทำการจัดพอร์ตการลงทุนซึ่งที่ถือว่ามีความสำคัญมาก นั่นคือการเขียนนโยบายการลงทุน ว่าแนวทางการลงทุนของพอร์ตลงทุนนี้เป็นอย่างไร ซึ่งจะทำให้เราเห็นภาพใหญ่ และกรอบการลงทุนของเรา เป็นการสร้างวินัยการลงทุนไปกลาย ๆ ไม่ให้หลุดออกจากสิ่งที่เราคิดไว้ตั้งแต่แรก เพราะระหว่างการลงทุนสภาพแวดล้อมมันก็จะมีทั้งความกลัวและความโลภมาท้าทายความรู้สึกเราเสมอ
โดยนโยบายการลงทุนของ LBD Portfolio นี้เป็นไปตามนี้
1. วัตถุประสงค์การลงทุน
สำหรับอัตราผลตอบแทนที่จำเป็นต้องได้นั้น สามารถคำนวณได้จาก App Financial Calculator
พอร์ตนี้ผมรับความเสี่ยงได้ค่อนข้างมาก เพราะเคยเจอติดลบหนักมามากกว่านี้แล้ว เลยต้องมาศึกษาเพิ่มเติมนี่แหล่ะ
2. ข้อจำกัดการลงทุน
ในส่วนนี้จะเป็นการสร้างกรอบแนวทางการลงทุนในระดับของทรัพย์สินที่เราเลือกใช้เป็นเครื่องมือการลงทุน ซึ่งผมเลือกที่จะใช้กองทุนรวมทั้งหมดเพราะง่าย มีให้เลือกหลากหลาย
3. กลยุทธ์การลงทุน
แกนสัดส่วนการลงทุนของพอร์ตนี้จะถูกจัดตามรูปด้านล่าง
และจะมีกองทุน Thai Bond (ตราสารหนี้ไทย) จะถูกลงทุน ในกรณีที่เข้าเงื่อนไขที่กำหนด ตามรายละเอียดด้านล่างนี้
4. การติดตามและประเมินผลการลงทุน
ในทุก ๆ ต้นเดือน เสาร์หรืออาทิตย์แรกของเดือน พอร์ตนี้จะถูกทำการวัดผล และจะทำการเข้าซื้อในวันทำการถัดไป
5. แผนรักษาวินัยการลงทุนและบริหารความเสี่ยง
เลือกกองทุนที่จะลงทุน
จากสัดส่วนสินทรัพย์ประเภทต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ ผมได้ทำการเลือกกองทุนที่เป็นตัวแทนมาแล้วดังนี้ ซึ่งรายการกองทุนที่เป็นตัวแทนสินทรัพย์นั้น จะสามารถเปลี่ยนแปลงได้ หรือมีการเพิ่มกองทุนอื่นเข้าไปเมื่อพอร์ตมีมูลค่าเพิ่มขึ้น
จากรูปจะเห็นได้ว่าพอร์ตนี้
ผมเลือกที่จะไม่กระจายการลงทุนมาก เช่น BTP มีนโยบายการลงทุนในกลุ่มหุ้นใหญ่
DM EQ ที่ลงทุนในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว
ผมเลือกกองทุนที่ลงทุนในตลาดสหรัฐฯ อย่างเดียว
หรืออย่าง EM EQ ที่ลงทุนในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา
ผมก็เลือกกองทุนที่เน้นลงทุนธุรกิจในประเทศจีน
เพราะต้องการศึกษาเรื่องความเสี่ยงไปด้วย อยากได้ทำจังหวะการเข้าซื้อ – ขายออก ดู
และในแต่ละกองทุนที่เข้าซื้อผมจะมี indicator เพื่อดูแนวโน้มว่าเมื่อไหร่ที่เราตอนนี้เรายังซื้อได้อยู่ใช่ไหม หรือตอนนี้เราควรขายแล้วรึยัง ตามนโยบายที่ได้วางไว้ ซึ่งบาง indicator อาจจะไม่ match กับกองทุนที่ซื้อเป๊ะ ๆ ซะทีเดียวแต่ก็มีเพื่อให้เห็นแนวโน้มเท่านั้น
—
การเข้าซื้อด้วยเงินตั้งต้น
เงินตั้งต้นของพอร์ตนี้อยู่ที่ 20,000 บาท โดยผมเริ่มทำการเข้าซื้อไปเมื่อวันที่ 3 ม.ค. 63 ที่ผ่านมา ซึ่งการเข้าซื้อนั้นดูจาก indicator ที่ถูกกำหนดไว้ในแต่ละประเภทสินทรัพย์
Thai Property (Mixed) – จากกราฟจะเห็นได้ว่าราคาของตัวแทนตอนนี้ยังไม่สามารถยืนเหนือเส้น MA 20 และ 40 weeks ได้ ผมเลยยังไม่ทำการเข้าซื้อ นำเงินส่วนนี้ไปซื้อ Thai Bond ก่อน
Thai EQ – หุ้นไทยก็เช่นกัน ยังไม่ยืนเหนือเส้น MA 20 และ 40 weeks ได้ ก็เข้าซื้อ Thai Bond ไปก่อน
DM EQ – ทำการเข้าซื้อได้ เพราะยืนเหนือเส้น MA 20 และ 40 weeks
EM EQ – ทำการเข้าซื้อได้
Sector EQ (Healthcare) – ทำการเข้าซื้อได้
Sector EQ (Tech) – ทำการเข้าซื้อได้
สำหรับการเข้าซื้อประจำเดือน ม.ค. 63 นี้ ที่มีเงินลงทุน 5,000 บาท ก็ยังคงลงทุนการตาม pattern นี้เช่นกัน เนื่องจากราคากราฟยังต่างกันไม่เยอะมาก สรุปการเข้าซื้อเป็นดังนี้
สินทรัพย์ | กองทุน | เงินตั้งต้น | เดือน ม.ค. |
Thai Bond | TMBABF | 6,000 | 1,500 |
Thai Property (Mixed) | SCBPINA | 0 | 0 |
Thai EQ | BTP | 0 | 0 |
DM EQ | TMBUS500 | 4,000 | 1,000 |
EM EQ | TMBCOF | 4,000 | 1,000 |
Sector EQ (Healthcare) | BCARE | 2,000 | 500 |
Sector EQ (Tech) | K-USXNDQ-A(A) | 4,000 | 1,000 |
เดือนหน้า ก็จะมาทำการวัดผลของเดือนนี้กัน