Categories
CFP Diary

CFP Diary EP9 : การขึ้นทะเบียนผู้วางแผนการลงทุน (IP License)

หลังจากที่ทำการสอบ IC Plan (P1), IC Complex (P2 / P3) และ CFP paper 1 กับ 2 เสร็จ เราสามารถที่จะทำการยื่นขอความเห็นชอบ ผู้วางแผนการลงทุน หรือ Investment Planner (IP License) ได้


IP License

ผู้วางแผนการลงทุน เปรียบเสมือนเป็นส่วนขยายเพิ่มเติมของผู้แนะนำการลงทุน ตรงที่สามารถให้เราทำการวางแผนการลงทุน โดยการกำหนดกลยุทธุ์และแผนการปฏิบัติการลงทุนด้วยการจัดพอร์ตการลงทุนแบบเฉพาะเจาะจงได้

ผมเคยมีเขียนความแตกต่างไว้บ้างแล้วใน EP3 สามารถย้อนไปอ่านกันดูได้ครับ


การยื่นขอ IP License

ขั้นตอนการยื่นขอความเห็นชอบ ผู้วางแผนการลงทุน (Investment Planner – IP) จากเดิมที่เป็น ผู้แนะนำการลงทุนอยู่นั้น สามารถทำได้โดยเข้าไปที่เว็บ https://market.sec.or.th/ORAP/Authen/PersonalLogin.aspx ก่อน แล้วทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. เลือก MENU P2: แจ้งข้อมูลเบื้องต้นการขอความเห็นชอบ / ต่ออายุ (กรณีสำเร็จการศึกษาสูงขึ้น)

2. เลือก ผู้วางแผนการลงทุน


3. จากนั้นเลือก (คุณสมบัตินักวิเคราะห์การลงทุนด้านตลาดทุน หรือผู้แนะนำตราสารซับซ้อนประเภท 1) ผู้ที่ได้รับความเห็นชอบผู้แนะนำการลงทุนในปัจจุบัน และทดสอบผ่านหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

4. กรอกข้อมูลและแนบเอกสารผลการสอบ CFP module 1 และ 2

5. ส่งข้อมูลเพื่อทำการอนุมัติ

6. จากนั้นรอรับอีเมล์การตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น (ผมรอประมาณ 2 – 3 วันทำการ)

7. เข้าสู่ระบบใหม่ แล้วทำการเลือก MENU P1: สร้างแบบขอความเห็นชอบ

8. ดำเนินการตามขั้นตอนไปเรื่อย ๆ เลือก ตัวเลือก ประเภทและคุณสมบัติ เหมือนในข้อ 2 และข้อ 3 และกรอกข้อมูลกับตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้อง

9. ระบบจะทำการออกใบแจ้งเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมค่าขอความเห็นชอบ 2,000 บาท VAT 7% 140 บาท แล้วให้เรานำใบนี้ไปจ่ายเงินที่ธนาคาร ซึ่งจะมีค่าธรรมเนียมอีก 20 บาท รวมกันคือ 2,160 บาท

10. เมื่อชำระค่าธรรมเนียมแล้วเราก็จะได้ Email แจ้งผลการรับค่าธรรมเนียมมา

11. จากนั้นรอการดำเนินการ 1 – 2 สัปดาห์ จะได้รับ Email แจ้งผลการขอความเห็นชอบ

12. และเข้าสู่ระบบอีกครั้ง เพื่อ Download หนังสือรับรองการได้รับความเห็นชอบที่ MENU P6 นี้

เป็นอันเสร็จสิ้นการขอความเห็นชอบการเป็น ผู้วางแผนการลงทุนครับ


ถัดจากนี้ไป เพื่อที่จะได้คุณวุฒิ CFP ก็จะเหลือการอบรม อีก 4 modules (M3 – M6) และสอบอีก 2 papers (P3, P4.1 / P4.2) และเก็บประสบการณ์ทำงานให้ครบ 3 ปี

สำหรับแผนในปีนี้คือ การเปลี่ยนไปเป็นนายหน้าประกันชีวิต แทนตัวแทนประกันชีวิต จึงต้องมีการไปสอบนายหน้าประกันก่อน และจากนั้นจะทำการเวฟการอบรม CFP Module 3 และเข้าอบรม CFP Module 4 เพื่อสอบ Paper 3 ช่วงครึ่งปีหลัง ปีนี้น่าจะประมาณเท่านี้ก่อน แล้วสำหรับปีหน้าก็ตามเก็บที่เหลือให้หมด

Facebook Comments