การสอบ CFP Paper นี้สำหรับผมถือว่าเป็นการสอบที่เว้นช่วงยาวมาก
เพราะตั้งแต่อบรมไปตอนเดือน ต.ค. 63 เพิ่งจะได้มาเขียนก็วันนี้แหล่ะ
ขอเล่าเริ่มต้นจากการอบรมกันก่อนเหมือนเช่นเคยนะครับ โดยรอบนี้ผมเลือกอบรมกับ CMSK
การสอบ CFP Paper นี้สำหรับผมถือว่าเป็นการสอบที่เว้นช่วงยาวมาก
เพราะตั้งแต่อบรมไปตอนเดือน ต.ค. 63 เพิ่งจะได้มาเขียนก็วันนี้แหล่ะ
ขอเล่าเริ่มต้นจากการอบรมกันก่อนเหมือนเช่นเคยนะครับ โดยรอบนี้ผมเลือกอบรมกับ CMSK
จาก EP ที่แล้ว หลังจากได้เป็นนายหน้าประกันชีวิต ผมก็ทำการเดินเรื่องขอเทียบเคียงความรู้ เพื่อที่จะไม่ต้องทำการอบรม Module 3 (การวางแผนการประกันภัย) และจะได้ทำการสมัครสอบ Paper 3 ได้เลย เพราะผมได้เข้าอบรม Module 4 (การวางแผนเพื่อวัยเกษียณ) เมื่อปลายปีที่แล้วไปแล้ว มาดูขั้นตอนกันว่าเราจะสามารถขอเทียบเคียงความรู้ / ขอสิทธิไม่ผ่านการอบรม (Waive) ได้ยังไง
หลังจากที่เคยเป็นสอบตัวแทนประกันชีวิตไปแล้ว Code หลุด (ไม่ได้ส่งงานตามกำหนด) ทำให้หลุดจาการเป็นตัวแทนประกันชีวิตไปโดยปริยาย และด้วยความที่ผมต้องการจะสอบ Paper 3 แบบไม่ต้องการเข้าอบรม CPF Module 3 จึงคิดว่าจะทำการขอเทียบเคียงความรู้ โดยการไปสอบนายหน้าประกันชีวิตแทนดีกว่า นั่นจึงเป็นที่มาของ EP นี้
หลังจากที่ทำการสอบ IC Plan (P1), IC Complex (P2 / P3) และ CFP paper 1 กับ 2 เสร็จ เราสามารถที่จะทำการยื่นขอความเห็นชอบ ผู้วางแผนการลงทุน หรือ Investment Planner (IP License) ได้
เหลือการสอบสุดท้ายแล้วก่อนการขึ้นทะเบียน IP (ผู้วางแผนการลงทุน) ซึ่งผมวางเป็น 1 ในเป้าหมายที่จะทำให้ได้ภายในปี 62 แต่ก็พลัดมาเรื่อย ๆ จนถึงเดือนพ.ย. คิดว่าเลื่อนต่ออีกไม่ได้แล้ว จึงตัดสินใจจองวันสอบล่วงหน้าไว้เลย บังคับตัวเองไป ซึ่งเหมือนเคย ผมเลือกสอบกับทางเว็บ AIMC เพราะรู้สึกคุ้นเคยการสอบที่นี้แล้ว และมีตารางสอบวันอาทิตย์อยู่ด้วย ค่าสอบครั้งนี้อยู่ที่ 950 บาท มีเวลาให้สอบ 80 นาที ข้อสอบทั้งหมด 50 ข้อ เกณฑ์ผ่าน 70% เหมือน P2
ตั้งแต่สอบ CFP Paper 1 เสร็จตั้งแต่ พ.ย. ปีที่แล้ว หลังจากนั้นก็หยุดสอบไปยาวเลย เพราะเข้าหลักสูตรอบรมเพื่อเป็นนักวางแผนการเงินของทีม Avenger Planner (ตอนนี้อยู่ในช่วงเป็น Assistant Planner หรือผู้ช่วยนักวางแผนการเงิน นั่นเอง)
เนื่องจากการจะเป็น Planner ของทีมนั่น มีคุณสมบัติข้อหนึ่งที่จำเป็นต้องมีคือ ใบอนุญาตวางแผนการลงทุน หรือ IP ซึ่งจะได้มาการสอบผ่านเกณฑ์ P1 P2 P3 และ CFP Paper 1 และ 2 ถึงจะสามารถขึ้นทะเบียนขอใบอนุญาตได้
ในส่วนของการสอบ Paper 2 นั่นจะเป็นเรื่องของการวางแผนการลงทุน ซึ่งหากมี IC License หรือเป็นใบอนุญาตแนะนำการลงทุน ก็สามารถเวฟไม่เข้าอบรมได้ (แต่ยังคงต้องสอบอยู่นะ) แต่ว่าผมเลือกที่จะเข้าอบรมดีกว่า
หลังจากอบรมฟิลลิปเสร็จปุ๊บ ช่วงหยุดยาวสงกรานต์ ผมก็เข้าเก็บตัวเพื่อเตรียมตัว P2 ตราสารที่มีความซับซ้อน ต่อเลย โดยผมได้ทำการจองสอบกับทางเว็บ AIMC ดูเหมือนว่าตารางสอบจะมีทุกวันพุธ-อาทิตย์ ค่าสมัครสอบอยู่ที่ 850 บาท โดยการสอบ P2 นั้นให้เวลาในการสอบทั้งหมด 40 นาที ข้อสอบทั้งหมด 25 ข้อ โดยมีเกณฑ์ผ่านคือ ทำถูกมากกว่า 70% ขึ้นไป
ห่างหายไปนานเลยกับ Series CFP Diary วันนี้ขอมาอัพเดทกันหน่อย เนื่องจากสัปดาห์ก่อนผมไปอบรมกับทาง บล.ฟิลลิป เพื่อสมัครเป็นตัวแทนขายหน่วยลงทุนอิสระ (กองทุนรวม) ซึ่งเครื่องมือหลักอีกเครื่องมือนึงในการวางแผนการเงินให้กับลูกค้า
หลังจากสอบได้ใบอนุญาตผู้แนะนำการลงทุน หรือ IC Plain ผมก็เริ่มหาข้อมูลต่อเกี่ยวกับการสอบ CFP ว่าควรจะเริ่มต้นจากที่ไหนอย่างไรดี
หลัก ๆ จะเริ่มต้นกันที่เว็บไซต์ของสมาคมนักวางแผนการเงินไทย หรือ www.tfpa.or.th
โดยเราจะสามารถดูตารางการอบรมและตารางการสอบของปีนั้น ๆ ก่อนว่า เรามีแผนว่าจะเริ่มต้องอบรมเมื่อไหร่และจะทำการสอบเมื่อไหร่
การสอบในทุก ๆ ฉบับ (Paper) จำเป็นที่ต้องเข้ารับการอบรมก่อนที่จะสอบ แต่ก็มีบางชุดวิชาที่สามารถเทียบเคียงวุฒิได้ เพื่อที่จะไม่ต้องเข้าอบรม และทำการเข้าสอบได้เลย
ในส่วนของ Module 1 พื้นฐานการวางแผนการเงิน ภาษี และจรรยาบรรณ (Foundation of Financial Planning, Taxation, and Ethics and Practice Standards) นั้น เท่าที่หาข้อมูลดู เหมือนจะไม่มีการเทียบวุฒิได้ จำเป็นที่จะต้องเข้าอบรมและทำการสอบทั้ง 2 อย่าง
หลังจากที่ได้ใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิตเมื่อกลางเดือนที่แล้ว ผมก็ได้รับคำแนะนำต่อให้ทำการสอบ IC Plain ซึ่งก็คือ ผู้แนะนำการลงทุนตราสารทั่วไป เพื่อที่จะสามารถขายผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตประเภทนึงได้ที่มีชื่อว่า “Unit Linked” ที่เป็นผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตควบคู่การลงทุน และก็เป็น 1 ในวุฒิพื้นฐานในการได้วุฒิ IP (Investment Planer) หรือ ผู้วางแผนการลงทุน เช่นกัน