ขอแชร์บทเรียนจากการลงทุนในปีนี้ซักหน่อย
ปีนี้ใช้เวลากับการลอง/ศึกษาเพิ่มเติมส่วนนี้ได้ไม่มากนัก
ที่คัดมาเขียนคือที่เห็นชัดขึ้น และนึกออก
ใครเจออะไรกันมาบ้าง แชร์กันได้นะฮะ
Tag: ลงทุน
บทเรียนจากการลงทุนปี 2020
# กองทุนตราสารหนี้ ใช่ว่าจะมีสภาพคล่องสูงเสมอไป (เจอปิดกองเข้าไป . . . จบเลย)
# สำหรับการลงทุนระยะยาว การมีคำมั่นกับตัวเองว่า พอร์ตสามารถขาดทุนได้เท่าไหร่ก็ช่วยให้เราผ่านพ้นวิกฤตไปได้หากมันยังไม่ลงไปถึงจุดนั้น แต่ถ้ารู้สึกกระวนกระวายมาก ๆ แสดงว่า นั่นไม่ได้จุดที่เราสามารถรับความเสี่ยงได้จริง ๆ (ต้องปรับพอร์ตให้เสี่ยงต่ำลง)
# การกระจายความเสี่ยงเห็นผลชัดเจนมากในปีนี้ บางสินทรัพย์ลง บางสินทรัพย์ซึม บางสินทรัพย์ขึ้นบ้างและบางสินทรัพย์พุ่ง ถัว ๆ กันไป
# หากจัดเป็นพอร์ตแล้ว เวลาดูผลตอบแทนให้ดูเป็นพอร์ต อย่าดูเป็นรายกอง เพราะแต่ละสินทรัพย์มันก็มีช่วงเวลาของมัน
# เวลาที่ตลาดเป็นขาลง หากเลี่ยงออกมาได้ก่อน จะลดความสูญเสียไปได้ดี Stop loss ก็เป็นเรื่องสำคัญ
# กองทุนค่า fee ถูกใช่ว่าจะดีเสมอไป (แม้ใน long term ก็ตาม) ควรดู performance ประกอบด้วย จะได้ลดค่าเสียโอกาสลงไป
# พอร์ตเป้าหมายระยะสั้น ต้องการผลตอบแทนสูง ก็ต้องรับความผันผวนให้ได้สูงเช่นกัน
# พอร์ตออมเพื่อเป้าหมายระยะยาว ก้มหน้าก้มตา DCA ต่อไปเถิดจะเกิดผล
# ลงทุนเงินก้อนกับสินทรัพย์เสี่ยงสูง ทยอยเข้าน่าจะดีกว่า
# ดูเหมือนความโหยหาผลตอบแทนจากการลงทุนในตลาดจะมีมากขึ้น ดัังนั้น ควรจำกัดความเสี่ยงการลงทุนไว้ก่อน
# โลกแห่งการลงทุนใน Crypto currency (จากที่ลองมา 1 สัปดาห์)
สภาพคล่องสูง (มีคนซื้อ ๆ ขาย ๆ แทบตลอดเวลา)
ทุนไม่ต้องมาก (ไม่มีขั้นต่ำ)
ราคาเรียลไทม์ (จะซื้อราคาที่เห็น หรือตั้งราคาซื้อก็ได้)
ซื้อขายได้ตลอด (24 ชั่วโมง)
แต่ความผันผวนสูงมากมาก (บวก ลบ xx% ใน 1 วัน เป็นเรื่องปกติ)
# เช็คความเสี่ยงของตัวเองก่อนลงทุน หากไม่รู้ ลองลงเล็ก ๆ ไปก่อน
# คำถามสำคัญก่อนเริ่มต้นลงทุน “แผนการลงทุนของเราคืออะไร” . . . สุดท้ายนี้ ที่เราลงทุนอยู่ทุกวันนี้ เรามีแผนแล้วรึยัง ?
แนวทางการวางแผนการเงินส่วนตัว ตอนต้นปี
สวัสดีวันสิ้นเดือนแรกของปี 🙂
วันนี้ขอเขียน practice การวางแผนการเงินส่วนตัวหน่อย ว่าทำอะไรไปบ้าง ในเดือนแรกของปี
12 บทเรียน จากการลงทุนกองทุนรวม 12 เดือน
เอาเข้าจริง ๆ ผมเพิ่งเริ่มต้นลงทุน ด้วยการซื้อกองทุนรวม มาได้ 1 ปี นิด ๆ โดยใช้เวลาศึกษาในเรื่องของกองทุนรวมประมาณ 3 – 4 เดือน แล้วเริ่มจัดพอร์ต และ 12 ข้อด้านล่างนี้เป็นข้อคิดที่ได้จากการลงทุนใน 1 ปีที่ผ่านมา
เมื่อวานนี้เขียนถึงเรื่องการซื้อประกันให้ถูกวัตถุประสงค์โดยเปรียบเทียบ ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลากับประกันชีวิตแบบตลอดชีพ วันนี้เลยอยากมาเปรียบเทียบกันให้ดูหากว่า เราใส่เงินจำนวนที่เท่ากัน ระหว่าง
(1) การซื้อประกันตลอดชีพ กับ
(2) การซื้อประกันแบบชั่วระยะเวลา (TERM) + กับนำเงินส่วนต่างไปซื้อกองทุนรวม
แบบไหนมีข้อดี ข้อเสีย อย่างไร โดยผมขอนำค่าเบี้ยประกัน เพศชาย อายุ 35 ปี ของบริษัทที่ผมเป็นตัวแทนอยู่มาแสดงเทียบกันล่ะกัน โดยโจทย์คือ
หากต้องการความคุ้มครอง 20 ปี ที่ทุนประกัน 1,000,000 บาท และมีเงินมรดกไว้ให้ลูกหลาน 1,000,000 บาท เมื่อตนเองเสียชีวิต (เมื่ออายุ 90 ปี หรือก่อนถึงอายุ 90 ปี)
เรามาดูกันว่าแต่ละแบบมีรายละเอียดยังไง
จะลงทุนทั้งที ควรทำอะไรบ้าง
สัปดาห์ที่แล้วผมได้ไปอบรมสำหรับเตรียมสอบ IC เพื่อที่จะขอวุฒิผู้แนะนำการลงทุน (รายละเอียดจะเขียนแยกอีกทีใน CFP Diary) มีเนื้อหาอยู่ส่วนนึงน่าสนใจ และคิดว่าเหมาะกับหลาย ๆ คนที่กำลังจะเริ่มต้นลงทุน เนื้อหาส่วนนี้กล่าวถึงกระบวนการตัดสินใจลงทุน เพื่อให้ผู้แนะนำการลงทุนนำไปใช้กับลูกค้า
แต่ผมคิดว่าเนื้อหาส่วนนี้สามารถให้ผู้ที่จะลงทุนทุกคนสามารถทำเองได้ และเป็นการวางรากฐานที่ดีสำหรับการเริ่มต้นที่จะลงทุนในตลาดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ทางการเงิน โดยกระบวนการตัดสินใจลงทุนนั้น จะมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
5 ทักษะทางการเงินที่ทุกคนควรมี
ทักษะทางการเงินนั้นเป็นทักษะด้านนึงที่เราจำเป็นต้องฝึก ในยุคที่โลกใช้เงินเป็นส่วนประกอบในการขับเคลื่อนชีวิต และขึ้นชื่อว่า “ทักษะ” นั่นหมายความว่า สามารถฝึกฝนกันได้ เช่นกัน
มาดูกันว่ามีทักษะทางการเงินอะไรบ้าง ที่เรา ๆ ควรจะฝึกกันไว้ เพื่อสร้างสุขภาพทางการเงินของเราให้แข็งแรง 💪
พอร์ตกองทุนเราเสี่ยงแค่ไหน ? รับได้ไหม ?
หลังจากที่เขียน วิธีการซื้อกองทุนอย่างไร เพื่อลดความเสี่ยงไปเมื่อคราวก่อน วันนี้เลยอยากมาเขียนต่อว่าแล้วความเสี่ยงของพอร์ตเรา ณ ปัจจุบันนี้ มีความเสี่ยงขนาดไหน เราจะมีวิธีการประเมินอย่างไรได้บ้าง
ต้องขอบอกก่อนว่าวิธีการนี้ผมได้เรียนรู้มาจากการที่ไปเรียน Class DIY Portfolio และเป็นเนื้อหาส่วนนึงที่น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่ลงทุนในกองทุนรวม จึงขอนำมาแชร์หน่อยล่ะกัน
ซื้อกองทุนรวมอย่างมีระดับ เพื่อลดความเสี่ยง
“การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนโปรดศึกษาข้อมูลก่อนการลงทุน”
ประโยคคุ้นหูที่เราได้ยินกันบ่อย ๆ ซึ่งผมเองก็พยักหน้า หงึก ๆ เห็นด้วยว่าความเสี่ยงนั้นมีจริง แต่ความเสี่ยงสามารถลดได้ด้วยการกระจายความเสี่ยงเหมือนกัน ดั่งประโยคยอดฮิตอีกประโยค
“อย่าใส่ไข่ไว้ในตะกร้าใบเดียว”
วันนี้เลยอยากจะแชร์วิธีการจัดพอร์ตการลงทุนพื้นฐาน เพื่อลดความเสี่ยงกันซักหน่อย ซึ่งจะสร้างความสมดุลของพอร์ตเราเพิ่มขึ้น เรียกได้ว่าเป็นการกระจายความเสี่ยงอย่างมีระดับ ซึ่งมีทั้งหมด 3 ระดับ ตามนี้
การกู้เงินเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่คนส่วนใหญ่ต้องพบเจอ และก็ใช้เวลาไม่น้อยเลยในการที่จะผ่อนให้หมด ทีนี้หากเราจัดสรรเงินได้ลงตัว และเหลือเงินเก็บส่วนหนึ่ง คำถามหนึ่งมักจะผุดขึ้นมาคือ
“เราจะเอาเงินส่วนนี้ ไปทำอะไรดี ระหว่างล้างหนี้กับลงทุน”
วันนี้เลยอยากจะมาแชร์ไอเดีย ว่าเมื่อมีเงินเหลือส่วนนึง แล้วเราจะเอาเงินส่วนนี้ไปทำอะไรดี
อย่างแรกสุดเลย ผมคิดว่า หากเรายังไม่มีเงินสำรองฉุกเฉินสำหรับกินอยู่ใช้จ่าย 3-6 เดือน ให้นำเงินส่วนนี้สะสมจนครบก่อน จากนั้น ค่อยมาดูกันต่อไปว่าจะจัดการยังไงต่อ
แต่ถ้าเรามีเงินสำรองเก็บไว้มากพอให้อุ่นใจแล้ว ก็มาดูกันต่อว่าจะนำเงินส่วนนี้ มาโปะหนี้บ้านดี หรือไปซื้อกองทุนรวมดี