สวัสดีสิ้นเดือน ม.ค. หลาย ๆ คน อาจจะได้โบนัสแล้ว หรือเตรียมรับโบนัสกัน พอรู้แบบนี้แล้วมันก็เกิดอาการอยาก Shopping ซื้อนู้น ซื้อนี่ คันไม้ คันมือ จับจ่ายใช้สอยสนองความอยาก ซึ่งสิ่งของเหล่านี้ มันไม่ได้อยู่ในแผนเลย แล้วแบบนี้เราควรทำอย่างไรดี ? เพื่อไม่ให้เผลอซื้อโดยไม่รู้ตัว
Tag: วางแผนการเงิน
สำหรับน้อง ๆ ที่เริ่มต้นทำงานมีรายได้ สามารถดูแลตัวเองและครอบครัวได้ หลาย ๆ คนเริ่มมีความคิดที่อยากจะมีบ้านหรือรถ ด้วยเหตุผลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อสร้างความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิต หรือต้องการที่จะมีสินทรัพย์เป็นของส่วนตัวเอง เป็นต้น และบางคนอาจจะมีคำถามว่าเราควรจะซื้ออะไรก่อนดี
ก่อนที่จะทำการตัดสินใจซื้อบ้านหรือรถนั้น อยากจะให้น้อง ๆ ทำการสำรวจความพร้อมของตนเองก่อน และทำความเข้าใจเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นเมื่อเราได้เป็นเจ้าของบ้านหรือรถแล้ว เพื่อที่จะไม่ให้เกิดภาระค่าใช้จ่ายที่มากเกินไป จนทำให้เกิดปัญหาทางการเงินในภายหลังได้
ตรวจสุขภาพทางการเงินด้วยตัวเอง
วันนี้อยากจะมาชวนตรวจสุขภาพทางการเงินกันด้วยตัวเอง ร่างกายเรา เรายังต้องไปตรวจสุขภาพ แล้วการเงินเรา ทำไมถึงไม่ตรวจกันบ้าง ทั้ง ๆ ที่เราสามารถตรวจกันได้ด้วยตัวเอง
ค่าใช้จ่ายรายปี กับ กองทุนรวมตลาดเงิน
ผมเชื่อว่าหลาย ๆ คน มีค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายในทุก ๆ ปี เช่น ค่าส่วนกลางหมู่บ้าน/คอนโด ค่าเบี้ยประกันชีวิต ค่าประกันภัยรถยนต์ ค่าตรวจสุขภาพ ฯลฯ ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้ ถึงแม้ว่าเรารู้ล่วงหน้าว่าจะต้องจ่ายในเดือนไหน แต่ในบางครั้งมันจะเหตุการณ์ที่แบบว่า พอใกล้ ๆ จะจ่ายแล้ว “เฮ้ย จะเอาจากที่ไหนมาจ่ายดี” หรือจ่ายไปแล้วอาจจะต้องทำให้เราอยู่อย่างประหยัดสุด ๆ ในเดือนนั้น เป็นต้น โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ที่มีมูลค่ามากกว่า 50% ของรายรับในเดือนนั้น
มีเงินเท่านี้ ซื้อรถ ราคาเท่าไหร่ดี ?
ช่วงปลายปีแบบนี้ งานกำลังมีงาน Motor Expo พอดี
หลาย ๆ คนก็อาจจะเล็ง ๆ รถคันใหม่ไว้
แต่จะซื้อรถใหม่ทั้งที เราก็ควรดู budget ที่เรามีด้วยเหมือนกัน
ไม่งั้นซื้อไป ผ่อนไม่ไหว อาจจะเกิดอาการชักหน้าไม่ถึงหลังก็ได้
เลยอยากจะชวนให้มาวางแผนการเงินกันก่อนซื้อรถ
ว่าถ้าจะซื้อรถ ราคารถที่เราควรซื้อนั้น ควรอยู่ที่เท่าไหร่
สาเหตุของการละเลยการวางแผนทางการเงิน
ตอนอ่านหนังสือเตรียมสอบ มีเนื้อหาส่วนนึงว่าด้วยสาเหตุที่ทำให้คนส่วนใหญ่ละเลยเรื่องการวางแผนการเงิน คิดว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจเลยอยากเขียนสรุปมาให้อ่านกันในภาษาของตัวเอง
หลังจากสอบได้ใบอนุญาตผู้แนะนำการลงทุน หรือ IC Plain ผมก็เริ่มหาข้อมูลต่อเกี่ยวกับการสอบ CFP ว่าควรจะเริ่มต้นจากที่ไหนอย่างไรดี
หลัก ๆ จะเริ่มต้นกันที่เว็บไซต์ของสมาคมนักวางแผนการเงินไทย หรือ www.tfpa.or.th
โดยเราจะสามารถดูตารางการอบรมและตารางการสอบของปีนั้น ๆ ก่อนว่า เรามีแผนว่าจะเริ่มต้องอบรมเมื่อไหร่และจะทำการสอบเมื่อไหร่
การสอบในทุก ๆ ฉบับ (Paper) จำเป็นที่ต้องเข้ารับการอบรมก่อนที่จะสอบ แต่ก็มีบางชุดวิชาที่สามารถเทียบเคียงวุฒิได้ เพื่อที่จะไม่ต้องเข้าอบรม และทำการเข้าสอบได้เลย
ในส่วนของ Module 1 พื้นฐานการวางแผนการเงิน ภาษี และจรรยาบรรณ (Foundation of Financial Planning, Taxation, and Ethics and Practice Standards) นั้น เท่าที่หาข้อมูลดู เหมือนจะไม่มีการเทียบวุฒิได้ จำเป็นที่จะต้องเข้าอบรมและทำการสอบทั้ง 2 อย่าง
5 รู้ก่อนวางแผนการเงิน
ก่อนที่จะวางแผนการเงิน ผมว่ามีอยู่ 5 เรื่องที่เราควรจะรู้กันก่อน และเป็น 5 เรื่องที่เราทุกคนควรจะรู้เมื่อเริ่มต้นทำงานหรือมีรายได้เข้ามา เช่นกัน
มาใช้เงินเดือนชนเดือน อย่างสบายใจกันดีกว่า
ผมซาบซึ้งถึงคำว่า “ใช้เงินเดือนชนเดือน”
ก็ตอนที่นำเงินมาสร้างบ้านนี่แหล่ะ
ตอนนั้น เอาเงินเก็บทั้งหมดที่มี มาลงกับบ้านหมดเลย
เงินโบนัส เงินเดือนที่ได้มา ก็เอามาจ่ายกับเรื่องนี้เป็นส่วนใหญ่
เงินสดที่มีสภาพคล่องสูง เรียกได้ว่าเป็น 0 ในทุก ๆ สิ้นเดือน
สัปดาห์สุดท้ายของเดือนมีเงินติดกระเป๋าพันนิด ๆ
เฝ้ารอให้เงินเดือนออก จะได้มีเงินมาใช้จ่าย (รวมถึงจ่ายค่าทำบ้านด้วย)
เป็นแบบนี้อยู่เกือบปี จนกระทั่งบ้านเสร็จ
5 ทักษะทางการเงินที่ทุกคนควรมี
ทักษะทางการเงินนั้นเป็นทักษะด้านนึงที่เราจำเป็นต้องฝึก ในยุคที่โลกใช้เงินเป็นส่วนประกอบในการขับเคลื่อนชีวิต และขึ้นชื่อว่า “ทักษะ” นั่นหมายความว่า สามารถฝึกฝนกันได้ เช่นกัน
มาดูกันว่ามีทักษะทางการเงินอะไรบ้าง ที่เรา ๆ ควรจะฝึกกันไว้ เพื่อสร้างสุขภาพทางการเงินของเราให้แข็งแรง 💪